คณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบสื่อ ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงงานในนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ SILPA 2023: Creative Works Exhibition ระหว่างวันที่ 15-30 กันยายน 2566
สภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ SILPA 2023: Creative Works Exhibition ระหว่างวันที่ 15-30 กันยายน 2566 โดย ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และเป็นกิจกรรมร่วมในวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2566
ผลงานของบุคลากรคณะวิทยาการสื่อสาร ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงงานจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวน 5 ผลงาน ดังนี้
1. ชื่อผลงาน: ควายน้ำ Khway Nam
เทคนิค: Digital Graphic ขนาด: 1640 x 2360 px
ชื่อศิลปิน: อาจารย์ ดร.ศุภราภรณ์ ทวนน้อย สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
2. ชื่อผลงาน: พัฒนาบรรจุภัณฑ์กระดาษสาหร่ายลูมุจากจากโครงการ Pattani Heritage City
เทคนิค: การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ขนาด: 24 x 30 x 12 cm. ชื่อศิลปิน: อาจารย์ ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
3. ชื่อผลงาน: Autumn Shaded
เทคนิค: Exhibition Design ขนาด: 144 ตร.ม.
ชื่อศิลปิน: อาจารย์ ดร.ปิติ มณีเนตร สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
4. ชื่อผลงาน: ฉุดรั้ง
เทคนิค: สีอะคริลิกผสมสีสเปรย์ ขนาด: 90 x 110 cm.
ชื่อศิลปิน: อาจารย์ รศ.สิทธิกร เทพสุวรรณ สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
5. ชื่อผลงาน: คำใต้
เทคนิค: Computer Graphic ขนาด: 40 x 26.7 cm.
ชื่อศิลปิน: อาจารย์ ดร.กำธร เกิดทิพย์ สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
ทั้งนี้ มีจำนวน 2 ผลงานที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองผลงานสร้างสรรค์ที่มีความโดดเด่น ในโครงการนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ประจำปี 2566 (SILPA 2023: Creative Works Exhibition) คือ
1. ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ได้รับประกาศนียบัตรรับรองผลงานสร้างสรรค์ที่มีความโดดเด่น ด้านนวัตกรรม กับชื่อผลงาน “พัฒนาบรรจุภัณฑ์กระดาษสาหร่ายลูมุ จากโครงการ Pattani Heritage City”
2. ดร.ศุภราภรณ์ ทวนน้อย ได้รับประกาศนียบัตรรับรองผลงานสร้างสรรค์ที่มีความโดดเด่น ด้านการสร้างสรรค์ผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรม กับชื่อผลลงาน “Khway Nam : ควายน้ำ”
สามารถดูผลงานอื่นๆ ได้ทางสูจิบัตรฉบับออนไลน์ https://anyflip.com/zspak/ynqy/